ทริคเล็กๆ เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่พบบ่อยเวลาเขียนภาษาอังกฤษ
หลายๆ คนมีอาการวิตกกังวลเวลา re-read ข้อความที่เพิ่งเขียนหรือพิมพ์เสร็จ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแกรมม่าร์หรือว่าตัวสะกด ที่สมมติว่าผิดพลาดขึ้นมาเนี่ย คนอ่านหรือว่าคู่สนทนาจะพาลมองว่าภาษาอังกฤษของเราไม่ดีรึเปล่านะ? และ GoUni มีทริคเล็กๆ ที่จะช่วยให้ทุกคนหลบเลี่ยงข้อผิดพลาดที่พบกันได้บ่อยๆ มาฝากค่ะ X)
ก่อนอื่น เรามาลองดูในส่วนของคำศัพท์กันก่อนเลย
คำที่เป็นปัญหา — ใช้ผิดที่ผิดทางกันอยู่บ่อยๆ
1. Affect / Effect : ในส่วนใหญ่แล้ว Affect จะเป็น verb และ Effect จะเป็น noun ค่ะ
ตัวอย่างเช่น -- It affected him. / The effect was startling.
2. All Right / Alright : ถึงแม้ว่า alright นั้นจะเป็นที่นิยมใช้กันมากกว่า แต่ว่าที่ถูกต้องจริงๆ แล้วนั้นคือ all right แหละ!
3. A lot : คำนี้ถือว่าเป็นสองคำค่ะ ต้องมีช่องว่างระหว่างคำด้วยนะ! (ส่วน allot นั้นจะแปลได้ว่า แบ่งสันปันส่วน ค่ะ)
4. Between you and I : ไม่มีนะคะคำนี้~ ให้ใช้คำว่า Between you and me ค่ะ
5. Complement / Compliment : คำแรกนั้นหมายถึงสิ่งที่ไปด้วยกันได้ดี ส่วนคำที่สองนั้นแปลว่าคำชื่นชมเยินยอ
6. Farther / Further : Father คือระยะห่างที่จับต้องได้ เห็นได้กับตาว่าไกลแค่ไหน ส่วน Further นั้นคือระยะห่างในโลกจินตนาการค่ะ (555) หรืออีกนับหนึ่งก็สามารถใช้แทนความหมายของ Moreover ได้
7. Gray / Grey : US vs UK Spelling อีกแล้วค่า คำแรกเป็นของฝั่งอเมริกา ส่วนคำที่สองนั้นเป็นแบบอังกฤษค่ะ
8. Irregardless : ไม่มีอีกแล้วนะคะคำนี้ ที่ถูกต้องนั้นคือ regardless จ้า
9.Lay / Lie : ประธาน (subject) lie down ในขณะที่ กรรม (object) laid down ค่ะ
ตัวอย่างเช่น -- He should lie down for a moment. / Lay the reports on the table. (จะค่อนข้างแยกยากหน่อยนะคะสองคำนี้ เพราะต้องผันตาม verb tense ด้วย)
10. Myself : หลายๆ คนจะใช้ประโยคประมาณว่า Send it to Bob and myself. ซึ่งมันไม่ค่อยจะถูกเท่าไหร่นักค่ะ ต้องใช้ว่า Send it to Bob and me. นะ :3
นอกเหนือจากคำที่มักใช้ผิดกันแล้ว ตัวช่วยอื่นๆ ก็มีส่วนช่วยได้มากเช่นกันค่ะ ไม่ว่าจะเป็น Google Ngram Search ที่จะช่วยบอกว่ามีคำและรูปประโยคแบบไหนบ้างที่ถูกใช้ในหนังสือหลายพันหลายหมื่นเล่มที่ Google เคยแสกนไว้ เหตุผลที่มันดีกว่าการเสิร์ช Google แบบปกติก็คือ รูปแบบประโยคเหล่านี้นั้นอยู่ในหนังสือ ที่ก่อนจะตีพิมพ์ได้เนี่ย ก็ต้องมีการตรวจสอบ และพิสูจน์อักษรกันอย่างเคร่งขัด ต่างจาก blog สอนภาษาอังกฤษหรือว่าเว็บไซท์ทั่วไป ทำให้ค่อนข้างมั่นใจได้ว่านี่คือภาษาอังกฤษที่ถูกต้องค่ะ และที่น่าสนุกกว่านั้นก็คือ เราสามารถที่จะดูได้ด้วยนะว่าในแต่ละคำเนี่ย มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ไปอย่างไรแล้วบ้าง ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันค่ะ
ในส่วนของเว็บดิกชันนารีนั้น ก็มีเว็บที่ชื่อว่า American Heritage Usage Notes. ที่น่าสนใจค่ะ (แต่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน ไม่ใช่บริทิชนะค้า) มันน่าสนใจตรงไหนน่ะเหรอ .. ก็ตรงที่นอกเหนือไปจากการเป็นดิกชันนารีแล้ว เว็บนี้ยังรวบรวมโน้ตของผู้ใช้เอาไว้ให้เราน่ะสิ รวมถึงคำอธิบายต่างๆ ที่ได้รับการรวบรวมมาจากแบบสอบถามด้วยนะ เพราะว่าบางทีเวลาเราหาศัพท์เนี่ย มันก็มีหลายความหมายใช่ไหมล่ะ ในเว็บนี้เค้าก็จะบอกค่ะ ว่าทำไมคำนี้ถึงแปลได้ว่าแบบนี้ แล้วคนที่ไม่เห็นด้วยกับคำแปลนี้ เค้าคิดว่ามันหมายความว่าอะไรกันนะ
อีกทริคหนึ่งที่จะทำให้งานเขียนดูโปรขึ้น นั่นก็คือเลือกสไตล์ของภาษาที่จะใช้ค่ะ คือปกติแล้วดิกชันนารีก็จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการนำคำศัพท์ไปใช้แบบกว้างๆ ใช่ไหมคะ แต่ว่าเว็บจำพวก Style Guide เนี่ย จะบอกว่า นี่ เราใช้กันแบบนี้นะ ใช้ตามเราสิ … ซึ่งก็มีหลากหลาย options ให้เลือกค่ะว่าอยากจะมาสไตล์ไหน ไม่ว่าจะเป็น AP หรือ Chicago ทางฝั่งอเมริกา หรือว่าจะเป็น Harvard style ในฝั่งอังกฤษก็ได้ (แต่ถ้ามีแพลนจะมาเรียนต่ออังกฤษแล้วละก็ ขอแนะนำให้ใช้ Harvard style ให้ชินมือไว้ก่อนเลยน้า เผื่อว่ามาอยู่แล้วจะได้ไม่รู้สึกติดขัดว่าทำไมสะกดไม่เหมือนกับที่เคยใช้ :D ) และประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของการเลือกสไตล์การใช้ภาษาก็คือ เราจะหาคำตอบเกี่ยวกับวิธีการใช้คำศัพท์นั้นๆ ได้ง่ายขึ้น และงานเขียนก็ยังดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันดีด้วยล่ะ
มาถึงทริคสุดท้ายแต่สำคัญมากสุดๆ อันได้แก่การ “รีไรท์” ค่ะ — รีไรท์ในที่นี้ไม่ได้จะบอกให้ลบแล้วเขียนใหม่ทุกประโยคน้า แต่สำหรับประโยคที่ไม่แน่ใจว่าเขียนแบบนี้ถูกแล้วรึยังนั้น อาจจะเป็นสัญญาณบอกได้ค่ะว่าประโยคนี้ยังสามารถปรับปรุงเขียนใหม่ให้เข้าใจง่ายกว่านี้อีก ลองใช้ศัพท์คำอื่นดู หรือสลับรูปแบบของประโยคดู เพื่อป้องกันความผิดพลาดอันมาจากการเข้าใจผิดของคนอ่านค่ะ
และทั้งหมดนี้ก็เป็นเคล็ด(ไม่ค่อย)ลับ ที่จะช่วยพัฒนาฝีมือการเขียนภาษาอังกฤษของทุกคนให้ดีขึ้นบ้าง แต่เหนือสิ่งอื่นใดนั้น การฝึกฝนสำคัญที่สุดค่ะ กล้าที่จะใช้ กล้าที่จะเขียน ต่อให้ผิดก็เรียนรู้จากความผิดพลาดนั้นๆ สุดท้ายแล้วเราก็จะเก่งขึ้นเองล่ะ ^^
ที่มา : https://hbr.org/2015/07/a-quick-guide-to-avoiding-common-writing-errors?utm_source=Socialflow&utm_medium=Tweet&utm_campaign=Socialflow
ขอบคุณรูปภาพจาก www.codeinstitute.net / www.high50.com
Leave A Comment
รับข่าวสารจากเรา
เราจะคอยอัปเดตคุณด้วยการแจ้งเตือนข่าวสารและความช่วยเหลือเมื่อคุณต้องการ