✨ โทนเสียงในภาษาอังกฤษ ✨

icon-time 05 สิงหาคม 2018
icon-view 20921
icon-comment20

ชาวต่างชาติที่พูดอังกฤษเป็นภาษาแม่มักจะมองว่าการเรียนภาษาไทยนั้นยากมาก เป็นเพราะในภาษาอังกฤษไม่มีเสียงวรรณยุกต์(Tones)ต่างๆ ที่หลากหลายเหมือนบ้านเรา อาจจะมีการใช้เสียงสูงบ้าง แต่ก็ไม่ได้ทำให้ความหมายของคำนั้นเปลี่ยนไป 

และใครที่บอกว่าภาษาอังกฤษไม่มีโทนเสียงนั้น ความจริงแล้วไม่ใช่เลย เพราะถึงแม้ภาษาอังกฤษจะไม่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าภาษาอังกฤษไม่มีเสียงวรรณยุกต์นะคะ และนี่คืออุปสรรคของการเรียนเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยของชาวต่างชาติเลย เนื่องจากในภาษาอังกฤษมีโทนเสียงเหมือนกัน แต่ใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกับเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทย

Image result for thai tones

ข้อแรกเลยคือ คนที่พูดภาษาอังกฤษ มักจะใช้โทนเสียงในการบ่งบอกสำเนียงภาษาอังกฤษของแต่ละคน เพราะแต่ละสำเนียงมักจะมีโทนเสียงในแต่ละคำที่แตกต่างกันไป และเราจะรู้ได้เลยว่าใครมาจากที่ไหน หรือพูดสำเนียงอะไร จากการฟังโทนเสียงในประโยคที่เขาพูด หรือบางทีเราก็จะรู้เลยว่าคนนี้มาจากที่ไหน เพียงแค่ได้ฟังเสียงฮัมประโยคภาษาอังกฤษของเขาเท่านั้น การทำความเข้าใจโทนเสียงในภาษาอังกฤษสำคัญมาก เนื่องจากมันจะช่วยเราในการฟังสำเนียงต่างๆ ในภาษาอังกฤษให้เข้าใจมากขึ้นว่าแต่ละคำที่เขาพูดนั้นแปลว่าอะไร เนื่องจากคำ 1 คำ อาจมีโทนเสียงที่แตกต่างกันไปตามสำเนียงแต่ละสำเนียง

อีกข้อหนึ่งคือ คนพูดภาษาอังกฤษมักใช้โทนเสียงในการสื่อในอารมณ์ความรู้สึก หรือใช้ในการถามคำถาม ซึ่งข้อนี้อาจจะทำให้ชาวต่างชาติงงๆ ในการแสดงอารมณ์ในขณะที่เขาพูดภาษาไทย เพราะชาวต่างชาติมักจะเปลี่ยนโทนเสียงโดยอัตโนมัติ ซึ่งทำให้ความหมายในภาษาไทยเปลี่ยนตามไปด้วย เรามาดูตัวอย่างกันดีกว่า

Image result for chatting gif

Rising Tone ปรับเสียงท้ายคำ/ประโยคให้สูงขึ้น

มีคำเดียวเท่านั้นที่ชาวต่างชาติมักไม่มีปัญหาในการออกเสียง นั่นคือคำว่า “ไหม(?)” เนื่องจากการถามคำถามในภาษาอังกฤษ จะมีปรับเสียงท้ายประโยคให้สูงขึ้นเป็นปกติอยู่แล้ว และคำว่า“ไหม”ก็มักจะอยู่ท้ายประโยคในภาษาไทย ดังนั้นชาวต่างชาติเลยออกเสียงคำนี้ถูกต้องโดยไม่ต้องใช้ความพยายามใดๆ ทั้งปวง 😂

และแน่นอนว่าในภาษาอังกฤษนั้น การถามคำถามแบบง่ายๆ สบายๆ คนมักจะพูดแค่คำหรือวลีสั้นๆ บวกกับการปรับระดับปรับเสียงให้สูงขึ้นเพื่อถามคำถาม เช่น

"Thomas?" [ปรับเสียงสูงขึ้นในตอนท้าย] = "Is that you, Thomas?" = นั่นใช่โทมัสไหม? (เราจำไม่ค่อยได้น่ะ)

"Chips?" [ปรับเสียงสูงขึ้นในตอนท้าย] = "Would you like chips?" = กินเฟร็นช์ฟรายส์ไหม?

"Get home alright?" [ปรับเสียงสูงขึ้นในตอนท้าย] = "Did you get home alright?" = กลับบ้านปลอดภัยดีใช่ไหม?

ในข้อนี้ จะเป็นปัญหาก็ต่อเมื่อชาวต่างชาติลืมพูดคำว่า “ไหม” ซึ่งเราจะไม่รู้เลยว่านั่นใช่คำถามหรือไม่ยังไง เพราะอยู่ๆ ก็โพล่งขึ้นมาแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยแบบนี้ เราก็ไม่สามารถรู้ได้ แถมชาวต่างชาติยังเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ของคำที่อยู่ท้ายประโยคอีก แบบนี้ก็ทำให้ความหมายของคำในภาษาไทยเปลี่ยนด้วยนะ

High Tone เสียงสูง

การพูดเสียงสูง อาจใช้เพื่อการถามคำถาม แต่จะชัดเจนกว่า เพราะข้อนี้จะต่างกับ Rising Tone ตรงที่ Rising Tone เราจะไม่แน่ใจในสิ่งที่ถาม มันก็จะคล้ายๆ คำว่า “ไหม” กับ “หรอ” นั่นแหละ ซึ่งถ้าเราอยากเรียกชื่อใครสักคน เรามักจะใช้เสียงสูง เช่น

"Thomas?" [high tone] = "Can I say something to you, Thomas?" = โทมัส ฉันขอพูดอะไรหน่อยสิ

"Chips?" [high tone] = "You want chips, don't you?"  = อยากกินเฟร็นช์ฟรายส์ใช่เปล่า?

"Get home alright?" [high tone] = "You home alright, didn't you?"  = เธอกลับบ้านปลอดภัยดีนะ?

และเสียงสูงนี้สามารถใช้ในการตอบคำถาม(เวลาเรากำลังเรียบเรียงคำตอบ)ได้ด้วย โดยเฉพาะคำว่า "Umm..", "Well...", "So..." หรือ "Yeah..." คำสามคำนี้มักจะใช้เสียงสูง ก่อนที่เราจะตอบคำถาม เป็นการบ่งบอกว่าเราเข้าใจที่เธอถามนะ แต่ขอเวลาให้สมองเราประมวลคำตอบนิดนึง 😆 ซึ่งถ้าเราใช้คำพวกนี้โดยไม่ใช้เสียงสูง คนจะคิดว่าคำเหล่านั้นคือคำตอบของเราแล้ว 

.......................................................................................

เอาล่ะ วันนี้พอเท่านี้ก่อนดีกว่า เดี๋ยวเรามาดูตัวอย่างเพิ่มเติมในบทความถัดไปนะจ๊ะ ซึ่งเราจะมาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเสียงต่ำในภาษาอังกฤษในสัปดาห์หน้าน้าาา.. เจอกันนะทุกคน 😊