✨ คำที่มีความหมายเหมือนกับ "And" ในการเขียนเชิงวิชาการ (Academic Writing) ✨

icon-time 23 ตุลาคม 2018
icon-view 6038
icon-comment20

การเขียนแบบ Academic ถือเป็นการเขียนในภาษาอีกระดับหนึ่งเลย เราอาจเคยเห็นคำหลายๆ เวลาที่เราอ่านหรือเขียนงานวิชาการบ่อยๆ และเราจะไม่ได้เห็นคำ หรือประโยคภาษาอังกฤษที่เป็นภาษาพูดในชีวิตประจำวันเลยยยยย นั่นก็เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการใช้คำ/วลี/ประโยคซ้ำๆ ยังไงล่ะ แต่ด้วยธรรมชาติของการเขียนเชิงวิชาการแล้ว มันเหมือนเป็นการเขียนที่แสดงให้เห็นว่าเราสามารถเขียนอธิบายสิ่งๆ เดียวกัน หลายๆ ครั้ง ได้โดยการเขียนในรูปแบบที่ต่างกันออกไป

รูà¸à¸ à¸²à¸à¸à¸µà¹à¹à¸à¸µà¹à¸¢à¸§à¸à¹à¸­à¸

นักเรียนส่วนใหญ่ยังคงใช้คำที่มีความหมายเหมือนกับคำว่า "and" แบบผิดๆ ในหลายบางครั้งที่ต้องการจะเขียนขยายความ ให้ขอมูลเพิ่มเติม หรือไม่ว่าจะเป็นการหาเหตุผลสนับสนุน เราเลยมีตัวเลือกอื่นๆ สำหรับคำที่มีความหมายเดียวกับ "and"  ให้เพื่อนๆ ได้นำไปใช้กัน แต่อย่าลืมว่ากลุ่มคำที่เราจะบอกต่อไปนี้ควรใช้เพื่อสื่อในสิ่งที่สอดคล้องกับสิ่งที่เราเพิ่งเขียนไปก่อนหน้านี้เท่านั้น ไม่ใช่เอาไปใช้เป็นคำขึ้นต้นทุกในทุกๆ ย่อหน้านะจ๊ะ ;)


1. MOREOVER

การใช้: ใช้ “moreover” ขึ้นต้นประโยคเมื่อต้องการเพิ่มข้อมูลเพื่อสนับสนุนสิ่งที่เรากำลังพูดถึง

ตัวอย่าง: “Moreover, the results of a recent piece of research provide compelling evidence in support of…”


2. FURTHERMORE

การใช้: ใช้ "furthermore" ขึ้นต้นประโยคเช่นเดียวกับ “moreover” และใช้เพื่อเพิ่มเติมข้อมูล

ตัวอย่าง: “Furthermore, there is evidence to suggest that…”


3. WHAT’S MORE

การใช้: คำนี้ใช้เหมือนกับ “moreover” และ “furthermore” เลย

ตัวอย่าง: “What’s more, this isn’t the only evidence that supports this hypothesis.”


4. LIKEWISE

การใช้: ใช้ “likewise” เมื่อต้องการพูดในสิ่งที่จะมาสนับสนุนในสิ่งที่เราเพิ่งพูดถึงก่อนหน้านี้

ตัวอย่าง: “Scholar A believes X. Likewise, Scholar B argues compellingly in favour of this point of view.”


5. SIMILARLY

การใช้: ใช้ “similarly” เช่นเดียวกับ “likewise”.

ตัวอย่าง: “Audiences at the time reacted with shock to Beethoven’s new work, because it was very different to what they were used to. Similarly, we have a tendency to react with surprise to the unfamiliar.”


6. ANOTHER KEY THING TO REMEMBER

การใช้: ใช้ “another key point to remember” หรือ “another key fact to remember” ในการให้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง หรือเป็นการหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า “also” นั่นเอง

ตัวอย่าง: “As a Romantic, Blake was a proponent of a closer relationship between humans and nature. Another key point to remember is that Blake was writing during the Industrial Revolution, which had a major impact on the world around him.”


7. AS WELL AS

การใช้: ใช้คำว่า “as well as” แทนการใช้คำว่า “also” หรือ “and”

ตัวอย่าง: “Scholar A argued that this was due to X, as well as Y.”


8. NOT ONLY… BUT ALSO

การใช้: ใช้คำกลุ่มนี้เพื่อเพิ่มข้อมูลสักข้อเข้าไป โดยส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่คนอ่านแล้วจะรู้สึกแปลกใจมากกว่าตอนที่อ่านข้อมูลที่พูดถึงก่อนหน้า

ตัวอย่าง: “Not only did Edmund Hillary have the honour of being the first to reach the summit of Everest, but he was also appointed Knight Commander of the Order of the British Empire.”


9. COUPLED WITH

การใช้: ใช้เมื่อต้องการพิจารณาข้อโต้แย้งหลายๆ ข้อ ในเวลาเดียวกัน

ตัวอย่าง: “Coupled with the literary evidence, the statistics paint a compelling view of…”


10. FIRSTLY, SECONDLY, THIRDLY…

การใช้: คำกลุ่มนี้สามารถใช้เพื่อสร้างข้อโต้แย้ง หรือเพื่อแสดงข้อมูลที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ

ตัวอย่าง: “There are many points in support of this view. Firstly, X. Secondly, Y. And thirdly, Z.