✨ ระบบการเรียนแบบ Callan Method เป็นยังไง? ✨

icon-time 25 มิถุนายน 2018
icon-view 10363
icon-comment20

หากน้องๆ คนไหนกำลังมองหาคอร์สเรียนภาษาอังกฤษ อาจจะเคยเห็นระบบการสอนนี้ผ่านหูผ่านตามาบ้าง แต่ว่าจริงๆ แล้วระบบนี้มันเป็นยังไง? แล้วมันจะเหมาะกัยเรามั้ย? มาดูกัน


มันเหมาะกับเรามั้ย?

อย่างแรกเลยคือ Callan Method จะเน้นไปในเรื่องการฟังและการพูดเป็นหลัก จะเรียกว่าสำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ ถ้าน้องๆ คนไหนกำลังเรียนภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมตัวเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งจะเน้นการเขียนและการอ่านเป็นนหลัก ระบบ Callan Method นี้อาจจะไม่ใช่สำหรับน้องๆ นะคะ 😊

นอกจากนี้ระบบนี้ยังเป็นระบบที่มีเอกลักษณ์ของตัวเอง ซึ่งบางคนอาจจะชอบ หรือถ้าไม่ชอบก็เกลียดไปเลย 55555 ฉะนั้นถ้าใครกำลังตัดสินใจว่าจะเลือกโรงเรียนที่สอนระบบนี้ดีมั้ย แนะนำให้น้องๆ ลองเปิดวิดีโอใน YouTube ดูก่อนนะคะว่าเราโอเคมั้ย


Callan Method มีกฎในการเรียนการสอนที่เคร่งมาก ไม่ว่าครูสอนคนไหนก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ 😂 ซึ่งเป็นการเรียนแบบถาม-ตอบ ระว่างครู-นักเรียน หรือที่เรียกว่า “drills” โดยครูสอนควรเป็นเจ้าของภาษา และต้องพูดให้เร็วเหมือนกับปกติที่เขาพูดกับเจ้าของภาษาด้วยกัน 🗣👤

โดยครูจะอ่านคำถามในหนังสือ (Callan Method) ซ้ำ 2 ครั้ง และจะเลือกนักเรียนว่าใครจะเป็นคนตอบคำถาม ซึ่งถ้าตอบผิด ครูจะแก้คำตอบให้ทันที แต่จะไม่มีการอธิบายใดๆ ทั้งสิ้น ว่าทำไม มันผิดยังไง 😢 

และครูจะคำถามทั้งหมดในหนังสือวนไปเรื่อยๆ จนกว่าทุกคนจะจำคำตอบได้เป๊ะๆ ถึงละเริ่มเปลี่ยนไปถามคำถามจากหนังสือเล่มใหม่ 😐


พัฒนาภาษาอังกฤษ แต่ใช้เวลาลดลงถึง 60%!?

Callan Method เคลมตัวเองอยู่บ่อยๆ ว่า “เรียนภาษาอังกฤษโดยใช้เวลาแค่ 1/3 ของเวลาที่เรียนปกติเท่านั้น” แต่ทางเราก็ยังหางานวิจัยชิ้นไหนที่จะมาสนับสนุนตรงนี้ไม่ได้ 😂 

ถ้าเราลองคิดๆ ดู มันก็เป็นไปได้ยากอยู่ดีนะคะ ระบบนี้อาจจะทำให้เราจำรูปแบบประโยคการพูดตามในหนังสือได้ แต่อาจจะทำให้เราคิดคำตอบของเราเองช้าลง (ตรงนี้มีผลกับการเอาไปใช้ในชีวิตจริง) หรืออาจจะสะกดคำไม่ค่อยได้ เพราะว่าระบบนี้ไม่ไม่มีการเขียน จะมีแต่พูดรัวๆ เท่านั้น 

Image result for callan method book

ถ้ามองอีกมุมนึงคือ Callan Method เป็นธุรกิจอย่างหนึ่งที่จะขายหนังสือและวิธีการสอนของตัวเองให้กับเรา 😂

อย่าที่บอกไป ว่าเราก็ยังไม่เจองานวิจัยที่ทำขึ้นมาเพื่อ Callan Method โดยเฉพาะ แต่ Callan Method จะคล้ายๆ กับระบบ audio-lingual ที่ฮิตมากในการเรียนภาษายุค 1960s (และเป็นช่วงที่เริ่มก่อตั้ง Callan Method ขึ้นมาด้วย) ระบบ audio-longual เลิกใช้เมื่อคนเริ่มเห็นว่าระบบนี้ไม่ค่อยได้เรื่องเท่าไหร่ 

งานวิจัยชิ้นหนึ่ง จากปี 1966 พบว่า หลังจากที่นักเรียนเรียนภาษาด้วยระบบ Audio-lingual เป็นเวลา 20 สัปดาห์ ทำให้นักเรียนไม่แม่นเรื่องไวยากรณ์ การอ่าน และการพูดในชีวิตจริง 


แล้วนักเรียบชอบเรียนมั้ย?

พูดง่ายๆ เลยคือCallan Method ก็คล้ายๆ กับตระกูลชินวัตร คือถ้าใครไม่ชอบ ก็จะเกลียดไปเลย 😂 จากผลสำรวจของ Phoebe Lee จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์พบว่า นักเรียนที่เคยเรียนระบบ Callan Method นั้นชอบวิธีการเรียนแบบนี้ โดยเฉพาะคนที่เพิ่งเริ่มเรียนภาษาในระดับต้นๆ

Image result for callan method

จากผลสำรวจของ Lee เขาได้บอกว่า “นักเรียนชอบเรียนแบบนี้ เพราะนักเรียนส่วนใหญ่คิดว่าตัวเองเรียนรู้ได้เร็วขึ้น และยังได้พูดโต้ตอบอีกด้วย เนื่องจากมีหลายคนที่เรียนภาษามาเป็นเวลาหลายปี แต่ก็ไม่สามารถพูดให้เป็นประโยคได้ถูกต้อง และเนื่องจาก Callan Method บังคับให้ทุกคนตอบคำถามตามแพทเทิร์นที่มีอยู่ในหนังสือ เลยทำให้คนที่จากที่ไม่มั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษ กลายเป็นคนมีความมั่นใจมากขึ้น และการที่ครูคอยแก้คำคอบเวลาที่พวกเขาพูดผิดจากหนังสือ คือสิ่งที่พวกเขาชอบมากที่สุดใน Callan Method”

แต่คนที่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษหรือเก่งอยู่แล้วจะคิดว่าการเรียนแบบนี้น่าเบื่อ แถมยังตอบคำถามตามใจตัวเองก็ไม่ได้อีก


สรุปสั้นๆ เลยแล้วกัน

ถ้าน้องๆ กำลังคิดหรือกำลังเลือกโรงเรียนเรียนภาษา ซึ่งใช้ระบบ Callan ในการสอน น้องๆ ควรดูวีดีโอใน YouTube เพื่อให้แน่ใจว่ามันจะเหมาะกับเรา

หากภาษาของเราอยู่ในระดับเริ่มต้น และอยากเรียนเพื่อพัฒนาการพูดแบบของเราให้พูดแบบ fluent ระบบการเรียนนี้น่าจะเหมาะกับเรา

แต่ถ้าใครมีพื้นฐานภาษาอังกฤษดีอยู่ในระดับนึงแล้ว หรือใครที่อยากเรียนเพื่อสอบ IELTS หรือเตรียมตัวเข้ามหาวิทยาลัย บอกเลยว่า Callan Method ไม่เหมาะกับเราแน่นอนจ้ะ 😊