✨ อังกฤษบรรจุ ‘Fake News’ ลงหลักสูตรการศึกษา, เพราะมุตตาไม่ใช่เหยื่อของแกอีกต่อไป ! ✨

icon-time 13 สิงหาคม 2019
icon-view 10151
icon-comment20
Fake News Shared Link

“น้ำมะนาวโซดารักษาโรคมะเร็ง”

หนึ่งในความเชื่อยอดฮิตซึ่งเคยตกเป็นที่พูดถึงอย่างกว้างขวางในโลกโซเชียลอันก่อให้เกิดการถกเถียงกันมากมายจนผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางทั้งหลายถึงกับต้องออกมาดึงสติว่า “ยังไม่มีงานวิจัยใด ๆ ยืนยันว่าการดื่มน้ำมะนาวโซดาจะช่วยรักษาโรคมะเร็งได้นะตัวเอง” โดยปัจจุบันต้นตอของความเชื่อนี้ก็ยังคงเป็นปริศนาแบบจับมือใครดมไม่ได้ 

นอกจากรูปคู่หวานชื่นของคนที่เราแอบชอบกับคนรักของเขาแล้ว ที่จุกจิกหัวใจและเป็นวาระแห่งชาติบนโลกโซเชียลไม่แพ้กันก็คงจะเป็น

“ข่าวปลอม” (FAKE NEWS)
นี่แหละ แม้จะเป็นแค่ประโยคหรือวลีสั้น ๆ ทว่าการส่งต่อและเสพสื่ออย่างขาดวิจารณญาณของคนนั้นทำให้มันกลายเป็นปัญหาระยะยาวซึ่งสร้างความปั่นป่วนวุ่นวายแก่สังคม 
กระตุ้นให้ ‘Damian Hinds’ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาของอังกฤษ ตัดสินใจประกาศให้คุณครูในอังกฤษสอนนักเรียนเรื่องความอันตรายของข่าวปลอมและวิธีการหยุดเผยแพร่มันบนโลกออนไลน์
Fakenews1

“รู้ทัน Social 101” 


นักเรียนในอังกฤษจะต้องเรียนเกี่ยวกับ Fake News บนอินเทอร์เน็ต ผ่านการวิเคราะห์เนื้อหาข่าว ตั้งแต่ส่วนของพาดหัวว่าเป็นการลวงให้คลิกเข้าไปอ่านหรือไม่ โดยการ
ใช้คำหรือรูปภาพพาดหัวชวนสงสัย 


ทั้งที่เนื้อข่าวอาจจะไม่ได้มีอะไรเลย ทำเพื่อกระตุ้นยอดการเข้าดูเฉย ๆ นี้เราเรียกว่า ‘Clickbait’ นอกจากนี้ยังต้องวิเคราะห์โฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda), เนื้อหาการเสียดสี/ ล้อเลียนคนดัง (Satire/ Parody) เพื่อเรียกยอดผู้ชม, การนำเสนอข่าวแบบลวก ๆ (Sloppy Journalism) ที่ไม่ได้มาจากแหล่งอ้างอิงอันน่าเชื่อถือ หรือพวกที่ชอบพาดหัวเนื้อหาให้เข้าใจผิด (Mislead heading) เพราะต้องการเรียกร้องความสนใจให้คนแชร์ต่อ รวมถึงข่าวลำเอียง (Biased/ Slanted news) ที่จะนำพาเราไปยังข้อมูลบางอย่างที่สนับสนุนความคิดและความเชื่อผ่านอคติของผู้เขียนเนื้อหาแบบไม่เป็นกลางอีกด้วย ทั้งหมดเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันด้านวิจารณญาณให้ตัวเองและหาวิธีหยุดยั้งการเผยแพร่ของมัน

Shutterstock 787955047 Compressor

“รู้หลบ Conflict รู้หลีก Fake News”

ทางรัฐบาลอังกฤษมั่นใจว่าหลักสูตรใหม่นี้จะช่วยให้เด็ก ๆ พิจารณาได้ว่าข้อมูลที่ตัวเองกำลังอ่านอยู่นั้นเป็นข้อมูลที่ผิดพลาดหรือเป็นข้อความลวงที่ไม่ควรเชื่อถือหรือไม่ รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาฯ เชื่อว่าความน่าเชื่อถือในสถาบันหรือบริษัท สามารถถูกทำลายลงได้ง่าย ๆ เพียงเจอกับข้อมูลผิด ๆ ดังนั้นการสร้างความตระหนักว่า ‘ควรตรวจสอบข้อมูลด้วยตัวเอง’ จะเป็นกลไกสำคัญในการปกป้องความผิดพลาดนั้น ‘แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ’ คือสิ่งสำคัญ ท่านรมต.ระบุว่าไม่ใช่แค่บริษัทเทคโนโลยีเท่านั้น แต่คนรุ่นใหม่ต้องฉลาดเท่าทันยิ่งกว่า เรียกได้ว่ามุตตาไม่ใช่เหยื่อของแกอีกต่อไป

หลักสูตรดังกล่าวจะเริ่มต้นถูกใช้ในปีหน้า โดยนอกจากเรื่อง Fake News แล้ว ยังมีเนื้อหาของการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย และวิธีการรับมือกับความขัดแย้งจนไปถึงเรื่องของสุขภาพจิตบรรจุลงหลักสูตรภาคบังคับด้วย

Fakenews2



ใครอ่านแล้วอยากเตรียมตัวเก็บกระเป๋าไปเรียนหลักสูตรแปลก ๆ ที่อังกฤษบ้าง ปรึกษาพี่ ๆ โกยูนิได้ทาง
Line: @gounithailand และ Facebook: gouni.th เลยนะจ๊ะ หรือจะกริ๊งกร๊างมาที่ 021634620 ก็ย่อมได้


โกยูนิสนับสนุนให้ทุกคนเสพสื่อบนโลกออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณ
แต่มั่นใจได้เลยว่าบทความนี้ของ GoUni ไม่ใช่ Fake News แน่นอนจ้า !