6 ความแตกต่างระหว่างภาษาอังกฤษแบบ British และ American English
British English VS. American English
เคยมีใครบางคนพูดไว้ว่าอังกฤษกับอเมริกาเป็นประเทศที่ถูกแบ่งด้วยภาษาที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งก็ไม่รู้ว่าใครเป็นคนพูด แต่มันสะท้อนความรู้สึกของคนบริติชต่อภาษาอังกฤษแบบอเมริกันได้ดีทีเดียว
ชาวอังกฤษบางคนถึงขั้นบอกว่าคุณไม่ได้พูดอังกฤษ คุณกำลังพูดอเมริกันอยู่ แต่สมัยนี้ไม่ค่อยมีแล้วล่ะ เพราะปัจจุบัน สหราชอาณาจักรก็มีความหลากหลายทางเชื้อชาติไม่ต่างจากประเทศอื่นๆ บนโลกใบนี้ บางคนอาจจะสงสัยว่าภาษาอังกฤษแบบบริติชกับอเมริกันแตกต่างกันขนาดนั้นเลยหรอ?
เรารวบรวมมาให้แล้วทั้งหมด 6 ข้อ มาดูกันว่าแตกต่างแค่ไหน
1. VOCABULARY
ความแตกต่างแรกที่เห็นได้ชัดมากๆ คือคำศัพท์ ทุกวันนี้มีคำศัพท์กว่า 100 คำที่ใช้แตกต่างกัน เช่น คนบริติชเรียกกระโปรงรถว่า bonnet ในขณะที่คนอเมริกันเรียกว่า hood เวลาคนอเมริกันไปเที่ยวจะพูดว่า go on vacation ในขณะที่คนบริติชพูดว่า go on holidays หรือ hols ย่อสั้นๆ ไปเลย คนบริติชอาศัยอยู่ใน flats ส่วนคนนิวยอร์กอาศัยอยู่ใน apartments และอีกมากมายที่ให้ลิสมาทั้งหมดคงจะเยอะเกินไป
2. COLLECTIVE NOUNS
มาที่เรื่องของแกรมม่ากันบ้างดีกว่า เริ่มที่กลุ่ม collective nouns ซึ่งใช้พูดถึงกลุ่มคนมากกว่า 1 คน คนอเมริกันจะใช้คำว่า staff พูดถึงกลุ่มพนักงาน ใช้คำว่า band พูดถึงกลุ่มนักดนตรี ใช้คำว่า team พูดถึงกลุ่มนักกีฬา เช่น คนอเมริกันจะพูดว่า ‘The band is good.’ แปลว่าวงดนตรีนี้เล่นดีนะ ซึ่งเป็นการพูดถึงทั้งกลุ่มคนโดยใช้รูปเอกพจน์ แต่ภาษาอังกฤษแบบบริติชจะใช้ collective nouns เป็นรูปเอกพจน์หรือพหูพจน์ก็ได้ เช่น ‘The team are playing tonight.’ หรือ ‘The team is playing tonight.’
3. AUXILIARY VERBS
อีกหนึ่งความแตกต่างในเรื่องของแกรมม่าคือ Auxiliary verbs หรือกริยาช่วยนั่นเอง (เป็นคำว่าที่ ‘ช่วย’ คำกริยาด้วยการให้ข้อมูลเพิ่มเติม) คนบริติชมักจะใช้คำว่า shall เพื่อพูดถึงอนาคต เช่น ‘I shall go home now.’ แน่นอนว่าคนอเมริกันรู้จักคำนี้แต่แทบไม่มีใครใช้กันเพราะดูเป็นทางการเกินไป คนอเมริกันจะพูดว่า ‘I will go home now.’ แทน ถ้าเป็นประโยคคำถาม คนบริติชก็จะพูดว่า ‘Shall we go now?’ ในขณะที่คนอเมริกันพูดว่า ‘Should we go now?’ แทน
ขอยกตัวอย่างเพิ่มเพื่อให้เห็นความแอดวานซ์ของภาษาอังกฤษแบบบริติชละกัน เวลาจะใช้ประโยคแสดงความไม่จำเป็น/ไม่ต้องทำ คนอเมริกันจะใช้กริยาช่วย do ตามด้วย not และกริยาหลัก need รวมกันเป็น ‘You do not need to come to work today.’ ในขณะที่คนบริติชจะตัดกริยาช่วยทิ้งและย่อคำว่า not แทน รวมกันเป็น ‘You needn’t come to work today.’ ถือต้องอาศัยความเคยชินในการใช้พอสมควรเลยล่ะ
4. PAST TENSE VERBS
ต่อมาคือคำกริยาที่แสดงเวลาในอดีต โดยจะมีความแตกต่างในเรื่องของกริยาอปกติ (Irregular Verbs) หรือที่คนไทยรู้จักกันในนามกริยา 3 ช่องนั่นล่ะ เช่น สำหรับภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน กริยาช่อง 2 ของคำว่า learn คือ learned ในขณะที่ภาษาอังกฤษแบบบริติชจะสามารถเลือกใช้ระหว่างคำว่า learned กับ learnt เช่นเดียวกับคำว่า dreamed/dreamt burned/burnt และอีกหลายคำ เห็นได้ว่าคนอเมริกันนิยมลงท้ายด้วย -ed ส่วนคนบริติชนิยมลงท้ายด้วย -t มากกว่า
สำหรับคำกริยาช่อง 3 (past participle form) ภาษาอังกฤษแบบอเมริกันนิยมลงท้ายด้วย -en เช่น คนอเมริกันจะพูดว่า ‘I have never gotten caught’ ในขณะที่คนบริติชจะพูดว่า ‘I have never got caught.’ ซึ่งคนอเมริกันจะใช้ทั้งคำว่า got และ gotten ส่วนคนบริติชใช้แค่คำว่า got แต่นี่เป็นแค่ความต่างเล็กๆ น้อยๆ ที่ทั้ง 2 ประเทศเข้าใจตรงกัน ใช้แบบไหนก็ไม่ผิด
5. TAG QUESTIONS
Tag questions การตั้งคำถามท้ายประโยคบอกเล่าหรือประโยคปฏิเสธ เช่น ‘The whole situation is unfortunate, isn’t it?’ หรือ ‘You don’t like him, do you?’ การใช้รูปประโยคนี้ต้องอาศัยคำสรรพนามและคำกริยา be, have หรือ do ที่เข้ากัน จุดประสงค์เพื่อให้ผู้ฟังเห็นด้วยและตอบรับผู้พูด ซึ่งคนอังกฤษจะใช้บ่อยกว่าคนอเมริกันมากๆ
6. SPELLING
ภาษาอังกฤษแบบบริติชและอเมริกันมีคำที่ความหมายเดียวกันแต่สะกดต่างกัน เรื่องมันน่าจะเริ่มมาจาก Noah Webster ผู้เขียนพจนานุกรมที่ก่อตั้ง Webster บริษัทพจนานุกรมในชื่อเดียวกัน เขาต้องการสะกดคำตามการอ่านออกเสียง จึงได้ปฏิรูปให้มีการสะกดแบบใหม่และแยกตัวออกมาจากภาษาอังกฤษแบบบริติชนั่นเอง
สิ่งที่เห็นได้ชัดคือการตัดตัว u ทิ้งไปของคนอเมริกัน เช่น colour กลายเป็น color หรือคำว่า labour กลายเป็น labor แต่ก็มีคำที่ไม่ประสบความสำเร็จในการถูกเปลี่ยนแปลงเหมือนกันนะ เช่น การเปลี่ยนคำว่า women เป็น wimmen (เพราะคำนี้ไม่ได้ออกเสียงว่า วูม'มิน แต่ออกเสียงว่า วีม'มิน) เป็นต้น
อ้างอิง: Six Differences Between British and American English
สรุป
อย่างไรก็ตาม ภาษาอังกฤษแบบบริติชกับภาษาอังกฤษแบบอเมริกันนั้นมีความเหมือนกันมากกว่าความต่างกัน และความแตกต่างก็ถูกใส่สีตีไข่ให้ดูโอเวอร์เกินไปพอสมควร ถ้าเรารู้วิธีใช้แบบหนึ่ง ก็สามารถเข้าใจการใช้อีกแบบหนึ่งได้ไม่ยาก อาจต้องระวังในเรื่องของการเขียน เช่น อาจารย์บางท่านอาจจะเคร่งว่าต้องใช้ภาษาอังกฤษแบบใดแบบหนึ่งไปเลย ห้ามใช้ผสมกัน เป็นต้น หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับน้องๆ ที่มีแพลนไปเรียนต่อต่างประเทศค่ะ
บทความที่น่าสนใจ
- 7 สำเนียงบริติช แตกต่างกันยังไงบ้าง?
- 6 คำ BRITISH ENGLISH ที่คนอเมริกันอาจจะงง
- 8 คำถามเกี่ยวกับ “อังกฤษ” ที่โดนกูเกิ้ลเยอะสุด!
คอร์สเรียนภาษาอังกฤษระยะสั้น - ยาว
ในการเรียนภาษาอังกฤษนั้น ไม่มีวิธีไหนจะดีไปกว่าการพาตัวเองเข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็น ภาษาอังกฤษ ที่เอื้อให้เราได้ใช้ได้พูดจริงในชีวิตจริง ซึ่งหนึ่งในวิธีที่จะพัฒนาการทักษะภาษาอังกฤษคล่องให้ได้เร็วที่สุด ก็คือการมาเทคคอร์สภาษาที่ประเทศต้นตำรับอย่างประเทศอังกฤษ
GoUni ทำงานร่วมกันกับโรงเรียนสอนภาษามากกว่า 50 แห่งในหลายเมืองทั่วอังกฤษ ที่ได้รับการรับรองและอนุมัติโดยรัฐบาลอังกฤษ ตั้งแต่ราคาย่อมเยา ไปจนถึงระดับ High-end ทำให้เรามีตัวเลือกมากมายและพร้อมช่วยคัดเลือกโรงเรียนที่ตรงกับความต้องการของนักเรียนให้มากที่สุด
ทำไมต้อง GOUNI?
- ให้คำปรึกษาฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
- สะดวกสบาย ทำให้น้องๆ มีเวลาในการทำงานหรือตั้งใจเรียน
- มีสำนักงานใหญ่ที่ลอนดอน สามารถติดต่อกับสถาบันได้โดยตรง
- ทีมงานของเรามีรุ่นพี่ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยระดับ Top
- มีผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการแนะแนวกว่า 15 ปี
GoUni พร้อมช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเตรียมการที่ไทย (จัดการที่พัก วีซ่า ตั๋วเครื่องบิน) ไปจนกระทั่งเมื่อน้องๆ มาถึง ทีมงานที่อังกฤษก็พร้อมดูแล
ให้การเรียนต่อต่างประเทศเป็นเรื่องง่าย
Official Line: https://lin.ee/SmbZgxh
Tel: 098-825-9840 / 093-323-0500
Facebook: https://m.me/gouni.th
Email: info@gouni.co.th
Leave A Comment
รับข่าวสารจากเรา
เราจะคอยอัปเดตคุณด้วยการแจ้งเตือนข่าวสารและความช่วยเหลือเมื่อคุณต้องการ